เศรษฐศาสตร์

เป็นวิทยากรอบรมเศรษฐศาสตร์อาเซียน วันที่ 19 ส.ค. 58

ใบงาน 15-18

ใบงานเศรษฐศาสตร์ม.2

ใบงานเศรษฐศาสตร์ม 3    เฉลยใบงานที่ 9-10   บทบาทของรัฐบาลกับการพัฒนาประเทศ แผนที่ 10 บทบาททางเศรษฐกิจของรัฐบาล  แผนที่ 11 นโยบายและกิจกรรมทางเศรษฐกิจของรัฐบาล

สื่อการเรียนการสอนเรื่อง ฉลาดใช้ฉลาดออม ระดับ ม. 2

สื่อการเรียนการสอนเรื่อง “ฉลาดใช้ฉลาดออม

ผลงานนักเรียน

แผ่นพับฉลาดใช้ฉลาดออม

นักเรียนสัมภาษณ์ฉลาดใช้ฉลาดออม

การ์ตูน “รู้จักออม” ของธปท.

นำเสนอโครงงานฉลาดโช้ฉลาดออม ของนักเรียน ม. 2

ตัวอย่างแผ่นพับผลงานนักเรียน

 

รายงานสรุปแผนการจัดการเรียนรู้ การใช้สื่อ

แผนจัดการจัดการเรียนรู้ หน่วยการเรียนรู้ที่ 1

รายงานการใช้แผนการจัดการเรียนรู้ฉลาดใช้ฉลาดออม

คำนำ บทที่ 1 บทที่ 2 บทที่ 3 บทที่ 4 บทที่ 5 ประวัติผู้จัดทำ สารบัญ สารบัญตาราง

ใบงานเศรษฐศาสตร์ ม.2

การ์ตูนรู้ทันเงินเฟ้อ

เรียนรู้ธนบัตร

                เศรษฐศาสตร์ (Economics) เป็นวิชาทางสังคมศาสตร์ที่ศึกษาการผลิต การบริโภค การกระจายสินค้า การค้า และการบริโภคสินค้าและบริการ วิชาเศรษฐศาสตร์จัดเป็นวิชาเชิงปทัสฐาน(เศรษฐศาสตร์ที่ควรจะเป็น) เมื่อเศรษฐศาสตร์ได้ถูกใช้เพื่อเลือกทางเลือกอันหนึ่งอันใด หรือเมื่อมีการตัดสินคุณค่าบางสิ่งบางอย่างแบบอัตวิสัย ในทางตรงข้ามเราจะเรียกเศรษฐศาสตร์ว่าเป็นวิชาเชิงบรรทัดฐาน (เศรษฐศาสตร์ตามที่เป็นจริง) เมื่อเศรษฐศาสตร์นั้นได้ถูกใช้เป็นเครื่องมือในการทำนายและอธิบายถึงผลลัพธ์ที่ตามมาเมื่อมีการเลือกเกิดขึ้น โดยพิจารณาจากสมมติฐาน และชุดของข้อมูลสังเกตการณ์ ทางเลือกใดก็ตามที่เกิดจากการใช้สมมติฐานสร้างเป็นแบบจำลอง หรือเกิดจากชุดข้อมูลสังเกตการณ์ที่สัมพันธ์กันนั้น ก็เป็นข้อมูลเชิงบรรทัดฐานด้วยเช่นเดียวกัน

จุดเริ่มต้นของเศรษฐศาสตร์

                  แม้การถกเถียงเรื่องการซื้อขายและการจัดสรรจะมีประวัติศาสตร์มายาวนาน เศรษฐศาสตร์ในความคิดของคนสมัยใหม่นั้นจะถือเอาวันที่ อดัม สมิธ ได้เผยแพร่หนังสือเรื่อง “ความมั่งคั่งของประชาชาติ” (The Wealth of Nations) ในปี ค.ศ. 1776 เป็นการเริ่มต้น เดิม อดัม สมิธ เรียกวิชานี้ว่า เศรษฐศาสตร์การเมือง แต่ต่อมาได้ถูกใช้เป็น เศรษฐศาสตร์ เพียงอย่างเดียวตั้งแต่ปี ค.ศ. 1870 กลไกการตลาดเปรียบเสมือน “มือที่มองไม่เห็น” (Invisible Hand)

อุปสงค์และอุปทาน

                   อุปสงค์และอุปทานเป็นโมเดลทางเศรษฐศาสตร์ที่อธิบายถึงความสัมพันธ์ของราคาและปริมาณในท้องตลาด กล่าวโดยทั่วไปแล้ว ข้อมูลทางทฤษฎีจะระบุว่าเมื่อใดก็ตามที่สินค้าถูกขายในตลาด ณ ระดับราคาที่ผู้บริโภคมีความต้องการสินค้ามากกว่าจำนวนสินค้าที่สามารถผลิตได้แล้ว ก็จะเกิดการขาดแคลนสินค้าขึ้น ซึ่งสถานการณ์ดังกล่าวก็จะส่งผลให้มีการเพิ่มขึ้นของระดับราคาของสินค้า โดยที่ผู้บริโภคกลุ่มที่มีความพร้อมในการจ่ายชำระ ณ ระดับราคาที่เพิ่มขึ้นนั้นก็จะส่งผลให้ราคาตลาดสูงขึ้น ในทางตรงข้ามระดับราคาจะต่ำลงเมื่อปริมาณสินค้าที่มีให้นั้นมีมากกว่าความต้องการที่เกิดขึ้น กระบวนการดังกล่าวจะดำเนินไปจนกระทั่งตลาดเข้าสู่จุดดุลยภาพ ซึ่งเป็นจุดที่ไม่มีการเปลี่ยนแปลงใดเกิดขึ้นอีก เมื่อใดก็ตามที่ผู้ผลิตทำการผลิตสินค้าที่จุดดุลยภาพนี้ ซึ่งเป็นจุดเดียวกับที่ผู้ซื้อตกลงซื้อที่ระดับราคาดังกล่าวแล้ว ณ จุดนี้กล่าวได้ว่าตลาดเข้าสู่จุดสมดุลแล้ว

เศรษฐศาสตร์จุลภาค

                  โมเดลอุปสงค์และอุปทานอธิบายการเปลี่ยนแปลงของราคาซึ่งเป็นผลจากสมดุลระหว่างปริมาณสินค้าซึ่งถูกเสนอขายที่ราคาแต่ละราคา (อุปสงค์) และความต้องการซื้อที่ราคาแต่ละราคา (อุปทาน)

                  เศรษฐศาสตร์จุลภาค (อังกฤษ: Microeconomics) เป็นเศรษฐศาสตร์สาขาหนึ่งซึ่งศึกษาพฤติกรรมและการตัดสินใจของบุคคล ครัวเรือน และบริษัท ในการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัด[1] โดยเฉพาะในตลาดซึ่งมีการซื้อขายสินค้าและบริการ เศรษฐศาสตร์จุลภาคศึกษาว่าพฤติกรรมและการตัดสินใจเหล่านี้มีผลกระทบอย่างไรต่ออุปสงค์และอุปทานของสินค้าและบริการ ซึ่งเป็นตัวกำหนดราคา และในทางกลับกัน ราคากำหนดอุปสงค์และอุปทานของสินค้าและบริการอย่างไร[2][3]

                  จุดประสงค์หนึ่งของเศรษฐศาสตร์จุลภาคคือการวิเคราะห์กลไกตลาดซึ่งเป็นตัวกำหนดราคาเปรียบเทียบระหว่างสินค้าและบริการ และการจัดสรรทรัพยากรที่มีอยู่จำกัดเพื่อใช้ในทางเลือกต่าง ๆ เศรษฐศาสตร์จุลภาคศึกษาเกี่ยวกับความล้มเหลวของตลาด ซึ่งเป็นสถานการณ์ที่กลไกตลาดไม่สามารถทำให้เกิดผลที่มีประสิทธิภาพได้ และยังอธิบายเกี่ยวกับข้อแม้ทางทฤษฎีที่จำเป็นต่อการเกิดการแข่งขันสมบูรณ์ สาขาที่สำคัญในเศรษฐศาสตร์จุลภาค เช่นดุลยภาพทั่วไป ตลาดภายใต้ความไม่สมมาตรของข้อมูล การตัดสินใจภายใต้ความไม่แน่นอน และการประยุกต์ใช้ทฤษฎีเกมในทางเศรษฐศาสตร์

เศรษฐศาสตร์มหภาค

              เศรษฐศาสตร์มหภาค (อังกฤษ: Macroeconomics) เป็นการศึกษาถึงกิจกรรมทางเศรษฐกิจส่วนรวม เช่น ผลผลิตรวมของประเทศ การจ้างงาน การเงินและการธนาคาร การพัฒนาประเทศ การค้าระหว่างประเทศ อัตราดอกเบี้ย ซึ่งทั้งหมดนั้นเป็นปัญหาที่กว้างขวางกว่าเศรษฐศาสตร์จุลภาค เพราะว่าไม่ได้กระทบเพียงหน่วยธุรกิจเท่านั้น แต่จะกระทบถึงบุคคล หน่วยการผลิต อุตสาหกรรมทั้งหมด และเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศ เศรษฐศาสตร์มหภาคนั้นจะมุ่งเน้นที่ผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติเบี้องต้น(GNP) และการว่าจ้างงาน จะหาว่าอะไรเป็นสาเหตุให้ผลิตผลรวมและระดับการว่าจ้างงานมีการเคลื่อนไหวขึ้นลง เพื่อหาแนวทางแก้ปัญหาต่างๆได้ตรงจุด เช่น ภาวะเงินเฟ้อเงินฝืด และ ปัญหาการว่างงาน เป็นต้น จุดมุ่งหมายของเศรษฐศาสตร์มหภาค การศึกษาเศรษฐศาสตร์มหภาคจะเน้นหน่วยเศรษฐกิจโดยส่วนรวมโดยเฉพาะเศรษฐกิจระดับชาติ ให้ระบบเศรษฐกิจดำเนินต่อไปอย่างมีประสิทธิภาพ และ ดำเนินไปอย่างมีเสถียรภาพ

แผนการจัดการเรียนรู้

การคุ้มครองผู้บริโภคด้านฉลาก

เศรษฐกิจพอเพียง

ความรู้เรื่องเศรษฐกิจพอเพียงเรื่องเศรษฐกิจพอเพียง

เศรษฐกิจพอเพียง (จำอวดหน้าม่าน)

เศรษฐศาสตร์ (สื่อมัลติมิเดีย)

เศรษฐศาสตร์ ม.ต้น

เศรษฐศาสตร์ ตอนที่ 1.1 การค้ากับต่างประเทศ 

เศรษฐศาสตร์ ตอนที่ 1.2 การค้ากับต่างประเทศ

เศรษฐศาสตร์ ตอนที่ 2.1 การเงินต่างประเทศ

http://youtu.be/jjPOKykKjBQ

เศรษฐศาสตร์ ตอนที่ 2.2 ตลาดเงินตราต่างประเทศ

ติวเศรษฐศาสตร์กับครูป๊อป

ติวสังคมศึกษาฯ (

Tutor Channel ประวัติศาสตร์ อ.ป๊อป Part 1

ประวัติ  ติว1

ประวัติศาสตร์ คิว2

ใบงานเศรษฐศาสตร์ 1-13

24 comments on “เศรษฐศาสตร์

  1. โห! ได้รู้ว่า เศรษฐศาสตร์ นั้นมีต้นกำเนิดมาได้อย่างไร และได้รู้ เศรษฐศาสตร์ มีความหมายว่าอย่างไร ทั้งๆทีเข้าใจผิดมาตลอด ขอบคุณคับ

  2. ได้ความรู้เกี่ยวเรื่องเศรษฐศาสตร์มากขึ้น และเข้าใจเกี่ยวกับคำว่าเศรษฐศาตร์มากขึ้น

  3. รู้เกี่ยวกับเศรษศาสตร์หลายเรื่องเลย ได้รู้ถึงจุดเริ่มต้นของเศรษฐศาสตร์ และหลายอย่างๆเกี่ยวกับเศรษฐศาสตร์ ทั้งๆที่ไม่เคยรู้มาก่อนเลย
    ขอบคุณครับ ครูพิทักษ์

  4. ได้รู้ความหมายของคำว่า “เศรษฐศาสตร์” ค่ะ แล้วก็ ต้นกำเนิดของ เศรษฐศาสตร์ด้วยค่ะ

  5. ได้รุ้เกี่ยวกับต้นกำเนิดของเศรษฐศาสตร์ ความหมาย อุปสงค์ อุปทาน เศรษฐศาสตร์จุลภาคและมหภาคว่ามีความสำคัญในชีวิตประจำวันอย่างไร

  6. ผมได้รู้ว่า เศรษฐศาสตร์ เป็นวิชาทางสังคมศาสตร์ที่ศึกษา การผลิต การบริโภค การกระจายสินค้า การค้า และการบริโภคสินค้าบริการ และได้รู้เกี่ยวกับเรื่อง จุดเริ่มต้นของเศรษฐศาสตร์ อุปสงค์และอุปทาน เศรษฐศาสตร์จุลภาคและเศรษฐศาสตร์มหภาค

  7. ใด้ีรู้เกี่ยวความหมายของ“เศรษฐศาสตร์”อย่างละเอียดและได้รู้ถึงจุดเริ่มต้น ของเศรษฐศาสตร์ โดยที่ไม่เคยรู้มาก่อน
    น่าจะมีรูปภาพหรือคลิปเสียง,VDO ประกอบ ด้วย เพื่อจะได้เข้าใจได้ไงขึ้น ^^

  8. ได้รู้ความหมายของคำว่าเศรษฐศาสตร์กว้างขึ้น และ ได้รู้จุดเริ่มต้นของคำว่าเศรษฐศาสตร์ที่ไม่เคยได้ยินเท่าไร

  9. ได้รู้เเละเข้าใจในเรื่องเศรษฐศาสตร์ เพิ่มมากยิ่งขึ้น เช่น
    ได้รู้ถึง จุดเริ่มต้นของเศรษฐศาสตร์ เเละอีกหลายๆอย่างเกี่ยวกับเศรษฐศาสตร์
    ที่ผมยังไม่รู้ครับ *-*

  10. เศรษฐศาสตร์มหภาคเป็นการศึกษาถึงกิจกรรมทางเศรษฐกิจส่วนรวม เช่น ผลผลิตรวมของประเทศ การจ้างงาน การเงินและการธนาคาร การพัฒนาประเทศ การค้าระหว่างประเทศ

  11. เศรษฐศาสตร์ เป็นวิชาทางสังคมศาสตร์ที่ศึกษาการผลิต การบริโภค การกระจายสินค้า การค้า และการบริโภคสินค้าและบริการ

  12. ได้รู้ว่าจุดประสงค์หนึ่งของเศรษฐศาสตร์จุลภาคคือการวิเคราะห์กลไกตลาดซึ่งเป็นตัวกำหนดราคาเปรียบเทียบระหว่างสินค้าและบริการ

  13. ได้เข้าใจว่าเศรษฐศาสตร์มีอยู่ในทุกๆวัน โดยที่เราไม่เคยรู้มาก่อน ไม่ว่าจะเป็นการบริโภค การผลิต และในบางอย่างก็เข้าใจแบบผิดๆด้วยค่ะ

  14. ผมได้รู้ว่าเศรษฐศาสตร์เป็นวิชาเกี่ยวกับการดำรงชีวิตในเรื่อง การผลิต การบริโภค เเละทำให้รู้คุณค่าของเงินว่ามีความสำคัญเเค่ไหน เเละทำให้รู้ถึงคุณภาพของสินค้าว่าเหมาะสมกับราคาที่ตั้งไว้หรือไม่ ทำให้รู้จักคิดวิเคราะห์ก่อนที่จะตัดสินใจเลือกซื้อของต่างๆ

  15. รู้เรื่องวิชาเศรษฐศาสตร์ซึ่งเกี่ยวกับ การผลิต การบริการ การบริโภค การส่งออกระหว่างประเทศ แม้กระทั่งการเลือกซื้อสินค้าต่างๆซึ่งเป็นทรัพยากร และได้รู้
    ว่าวิชาเศรษฐศาสตร์นี้อยู่ในชีวิตประจำวันของเรา เป็นวิชาที่จำเป็นต่อการดำเนินชีวิต
    ซึ่งเราต้องใช้กันอยู่ทุกวัน

ส่งความเห็นที่ ด.ช.ธีรสุต สุริวงค์ ชั้น ม.2/ep เลขที่ 4 ยกเลิกการตอบ